วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Gioseffo Zarlino

Gioseffo Zarlino เป็นนักทฤษฎีดนตรี และนักประพันธ์ดนตรีแห่งยุคเรเนียสซอง (Renaissance) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1517 และเสียชีวิตลงเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1590
Zarlino นับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในด้านการพัฒนาเกี่ยวกับเสียงประสานในดนตรี และเคาเตอร์พอยท์ (counterpoint) ในดนตรี
Zarlino เป็นชาวอิตาเลียนเกิดที่เมือง ช๊อคเกีย (Chioggia) [เมืองในอิตาลี ใกล้ๆกับเมือง เวนิซ (Venice)] Zarlino เรียนดนตรีกับ Franciscans และต่อมาเขาก็ได้ศึกษาด้วยตนเอง
ในปี ค.ศ.1536 (Zarlino) ได้เป็นนักร้องอยู่ในโบสถ์ที่เมืองช๊อคเกีย ระหว่างการเป็นนักร้องก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็นคนดูแลโบสถ์ จวบจน ค.ศ.1539 เขาได้เป็นนักเล่นออร์แกนในโบสถ์ ด้วยความศรัทธาในศาสนาเขาได้บวชเป็นนักบวชในปี ค.ศ. 1540
หลังจากนั้น Zarlino ได้สนใจที่จะเรียนการขับร้องเพิ่มเติมจากสถาบันที่มีชื่อเสียงในการสอนศิลปะแขนงต่างๆ เขาเลยเดินทางไปยังเมืองเวนิซในปี ค.ศ.1541 เพื่อเรียนเกี่ยวกับการร้อง แคปเปลลา (cappella) ที่เซนท์มาร์ค (Saint Mark's) โดยเรียนกับ เอเดรียน วิลเลิร์ต (Adrian Willaert)
หลังจากที่ Zarlino ได้ศึกษาจนมีความเชี่ยวชาญ ทำให้ในปี ค.ศ.1565 เขาได้กลายเป็นผู้ที่สอนแต่งเพลง ณ สถาบันแห่งนั้น
Zarlino นับว่าเป็นผู้มีฝีมือทางด้านการเรียน และการสอนมาก เพราะชาวเวนิซ ได้ยกย่องเขาเทียบเท่ากับผู้มีชื่อเสียงทางด้านดนตรีหลายท่าน อาทิเช่น คลาวดิโอ เมอรูโล (Claudio Merulo), จิโลราโม ดิรูตา (Girolamo Diruta), จิโอวานนี่ ครอส (Giovanni Croce) และ วินเซนโซ กาลิเลอิ (Vincenzo Galilei)
หลังจากที่ Zarlino ได้เป็นอาจารย์ในการสอนแต่งเพลง เขาก็มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากที่เขาจะสอนแต่งเพลงแล้ว เขาก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งเพลง โมเต็ท (Motet) ซึ่งเพลงของเขาเป็นที่นิยมอย่างมาก Zarlino คิดค้นวิธีการใหม่ๆขึ้นมาจากแบบแผนเดิมๆ เช่น ระบบตัวเลขของปีทากอรัส เป็นต้น ทำให้เขาสามารถใช้บันไดเสียงและโหมด (mode) ในการแต่งเพลงได้อย่างเชี่ยวชาญ ถึงอย่างไรก็ตาม จุดเด่นของ Zarlino คือ เขาเป็นคนที่เข้าใจดนตรีโดยแท้ ดนตรีที่เขาแต่งออกมานั้น เขาจะคำนึงถึงความเป็นจริงปละสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาเริ่มใช้การ ขนานคู่ห้า และคู่แปด (Parallel fifth & Parallel eighth) ในการเรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งเขามองว่าการขนานดังกล่าวไม่ได้เป็นความสัมพันธ์ของเสียงประสานที่ผิด ทฤษฎีของ Zarlino มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะแนวคิดและทฤษฎีของเขาเป็นเหมือนตัวแทนและเอกลักษณ์ของดนตรีในยุคบาโรค ฟรานเชสโก ฟรานเชสกี้ (Francesco Franceschi) เป็นผู้เรียบเรียงทฤษฎีของ Zarlino มาเขียนเป็นหนังสือ หลังจากที่หนังสือเล่มดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ ก็ได้ถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆหลายภาษา ทำให้แนวคิดและทฤษฎีของ Zarlino ถูกนำไปใช้และพัฒนาจนถึงยุคถัดๆไป จวบจนท้ายสุดของ ศตวรรษที่ 16
เพลงของ Zarlino ได้ถูกนำมาบรรเลงในช่วง ค.ศ.1549 จนถึง ค.ศ.1567 เป็นเพลงโมเต็ท 41 เพลง ส่วนมากเป็นเพลงที่มีเสียงประสาน 5-6 แนว ซึ่งในจำนวนเพลงเหล่านั้นมี 13 เพลงที่เป็นเพลงเกี่ยวกับทางโลก และบทกวีอื่นๆที่ไม่ใช่เพลงในศาสนา ซึ่งก็เป็นเพลงขับร้องเสียงประสาน 5-6 แนวเช่นกัน

Guidonian Hand


Guidonian Hand
ในช่วงยุคกลาง Guidonian Hand เป็นสิ่งที่ช่วยให้นักร้องสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ การร้องโน้ต วิธีนี้เคยถูกใช้โดย Guido of Arezzo นักทฤษฎีในยุคกลาง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความและตำราทางด้านดนตรีหลายๆชิ้น อีกทั้งยังเป็นผู้สอนวิธีการร้องโน้ตให้แก่นักร้องในยุคนั้น วิธีการใช้ฝ่ามือเพื่อช่วยในการร้องโน้ต ได้ถูกบันทึกไว้ก่อนที่ Guido จะค้นพบเรื่อง Semitone โดยวิธีนั้นได้ถูกอธิบายไว้จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 12 ซึ่งได้ถูกอธิบายไว้โดย Sigebertus Gemblacensis ซึ่ง Guido ได้นำวิธีเหล่านั้นมาเป็นเครื่องมือในการสอนเรื่อง Hexachord
Guidonian Hand เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับไอเดียใหม่ของ Guido เกี่ยวกับการศึกษาดนตรี รวมทั้งการใช้ Hexachord และเป็นครั้งแรกที่รู้จักในการใช้ Solfege
ไอเดียหลักๆของ Guidonian Hand นั้น เราเริ่มจากลองแบมือซ้ายออก แล้วนับตรงข้อของหัวแม่โป้งเป็นตัว G (Gamma หรือ Gamut) ตรงข้อที่ 2 ของิน้วโป้งเป็นตัว A แล้วตรงจมูกมือเป็นตัว B แล้วไล่ตรงไปฝ่ามือตรงโคนนิ้วชี้ เรียงไปนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย จะเรียงเป็น C D E F ตามลำดับ แล้วนับขึ้นมาบนข้อที่ 2 ของนิ้วก้อยแล้วนับมา ข้อที่ 1 ของนิ้วก้อย วนซ้ายไปข้อแรกของนิ้วกลาง มานิ้วชี้ ลงมาที่ข้อที่ 2 ของนิ้วชี้ แล้วมาข้อล่างสุดของนิ้วชี้ วนต่อมาโคนนิ้วกลาง นิ้วนาง แล้ววนขึ้นไปบนข้อที่ 2 ของนิ้วนาง แล้วก็เลื่อนไปจุดสุดท้ายตรงข้อที่ 2 ของนิ้วกลาง ซึ่งเมื่องเรียงทั้งหมดแล้วจะได้โน้ตตามนี้ คือ Gamma (G) A B C D E F G a b c d e f g aa bb cc dd (อักษรพิมพ์ใหญ่คือ Octave แรก แล้วอักษรพิมพ์เล็กคือ Octave ที่สูงขึ้นไป สุดท้ายที่เป็นอักษรพิมพ์เล็กติดกัน 2 ตัว คือสูงขึ้นไปอีก 1 Octave)
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้คนสมัยก่อนสามารถร้องโน้ตได้ถูกต้อง ถือเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดหลักการอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Byzantine Chant

The Byzantine Rite หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า The Rite of Constantinople หรือ Constantinopolitan Rite มีเพลงสวดที่เรียกว่า Byzantine Chant หมายถึงเพลงสวดในพิธีทางศาสนาของชาวคริสเตียนโรมันทางฝั่งตะวันออก เกิดขึ้นในช่วงที่ก่อตั้งกรุง Constantinople ในช่วงหลังศตวรรษที่ 4

เพลงสวด Byzantine Rite นั้นได้รับการพัฒนามาจากเพลงสวดทางศาสนาคริสเตียนฝั่งตะวันออก คือ Alezandrian Rite ในอียิป (Egypt) และ Antiochene Rite ในซีเรีย (Syria) ซึ่งเพลงสวดทั้ง 2 แบบนี้ใช้ร้องประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ ซึ่งราชาคณะในโบสถ์ต่างก็ช่วยกันพัฒนาเพลงสวดให้ดีขึ้น เนื่องจากกรุง Constantinople ในช่วงนั้นเป็นยุครุ่งเรือง และระบบต่างๆทางศาสนานั้นก็ได้รับการพัฒนาเช่นการแต่งตั้งราชาคณะ รวมไปถึงพัฒนาพิธีกรรมทางศานาให้ดูดีเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

จนกระทั่งอาณาจักร Byzantine ได้ล่มสลายลง โดยการเข้ายึดอำนาจของชาว Ottoman ในปี ค.ศ.1453 แต่ถึงอย่างไร เพลงสวดทางศาสนาในช่วงนั้นก็ยังคงเป็นที่รู้จักของชาว Eastern Ortodox Christian โดยภาษาเดิมนั้นใช้ภาษา Greek และได้ถูกแปลไปเป็นหลายๆภาษา อาทิเช่น Syriac, Coptic, Arabic, Armenian, Georgian, Church Slavonic และภาษาอื่นๆอีกมากมาย และได้ถูกดัดแปลงไปบ้างจากอิทธิพลของสถานที่ต่างๆ เนื่องจากเพลงสวดนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไปหลายแห่ง เช่น ทางตะวันตกของประเทศสเปน, ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี นอกจากนั้นยังมีอยู่ทั่วไปทางตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศแอฟริกา รวมไปถึงกรีซ (Greece) และปาเลสไตน์ (Palestine) แม้กระทั่งทวีปทางตะวันออกเช่นรัสเซีย

เพลงสวดนี้ก็ยังคงเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของชาวคริสเตียนโรมันตะวันออกมานานถึงประมาณ 1500 ปี