วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Guidonian Hand


Guidonian Hand
ในช่วงยุคกลาง Guidonian Hand เป็นสิ่งที่ช่วยให้นักร้องสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ การร้องโน้ต วิธีนี้เคยถูกใช้โดย Guido of Arezzo นักทฤษฎีในยุคกลาง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความและตำราทางด้านดนตรีหลายๆชิ้น อีกทั้งยังเป็นผู้สอนวิธีการร้องโน้ตให้แก่นักร้องในยุคนั้น วิธีการใช้ฝ่ามือเพื่อช่วยในการร้องโน้ต ได้ถูกบันทึกไว้ก่อนที่ Guido จะค้นพบเรื่อง Semitone โดยวิธีนั้นได้ถูกอธิบายไว้จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 12 ซึ่งได้ถูกอธิบายไว้โดย Sigebertus Gemblacensis ซึ่ง Guido ได้นำวิธีเหล่านั้นมาเป็นเครื่องมือในการสอนเรื่อง Hexachord
Guidonian Hand เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับไอเดียใหม่ของ Guido เกี่ยวกับการศึกษาดนตรี รวมทั้งการใช้ Hexachord และเป็นครั้งแรกที่รู้จักในการใช้ Solfege
ไอเดียหลักๆของ Guidonian Hand นั้น เราเริ่มจากลองแบมือซ้ายออก แล้วนับตรงข้อของหัวแม่โป้งเป็นตัว G (Gamma หรือ Gamut) ตรงข้อที่ 2 ของิน้วโป้งเป็นตัว A แล้วตรงจมูกมือเป็นตัว B แล้วไล่ตรงไปฝ่ามือตรงโคนนิ้วชี้ เรียงไปนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย จะเรียงเป็น C D E F ตามลำดับ แล้วนับขึ้นมาบนข้อที่ 2 ของนิ้วก้อยแล้วนับมา ข้อที่ 1 ของนิ้วก้อย วนซ้ายไปข้อแรกของนิ้วกลาง มานิ้วชี้ ลงมาที่ข้อที่ 2 ของนิ้วชี้ แล้วมาข้อล่างสุดของนิ้วชี้ วนต่อมาโคนนิ้วกลาง นิ้วนาง แล้ววนขึ้นไปบนข้อที่ 2 ของนิ้วนาง แล้วก็เลื่อนไปจุดสุดท้ายตรงข้อที่ 2 ของนิ้วกลาง ซึ่งเมื่องเรียงทั้งหมดแล้วจะได้โน้ตตามนี้ คือ Gamma (G) A B C D E F G a b c d e f g aa bb cc dd (อักษรพิมพ์ใหญ่คือ Octave แรก แล้วอักษรพิมพ์เล็กคือ Octave ที่สูงขึ้นไป สุดท้ายที่เป็นอักษรพิมพ์เล็กติดกัน 2 ตัว คือสูงขึ้นไปอีก 1 Octave)
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้คนสมัยก่อนสามารถร้องโน้ตได้ถูกต้อง ถือเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดหลักการอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น